ตลาดศูนย์การค้ากำแพงเพชรได้รับเลือกเป็นตลาดนำร่อง 1 ใน 18 ตลาดจากทั่วประเทศ ตามโครงการ “Holistic Market” ยกระดับตลาดแบบองค์รวม ของธนาคารออมสิน

วันที่ 3 พฤษภาคม 2566 เวลา 11.30 น. ที่ สำนักงานตลาดศูนย์การค้ากำแพงเพชร อ.เมือง จ.กำแพงเพชร นายดำหลิ ตันเยี่ยน หัวหน้าหน่วยพัฒนาสังคมและชุมชน ภาค 7 ธนาคารออมสิน พร้อมคณะ เข้าพบ นายชัยพันธ์ ศรีคชไกร ผู้จัดการตลาดศูนย์การค้ากำแพงเพชร แจ้งให้ทราบและร่วมปรึกษาหารือเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติ ในโอกาศที่ธนาคารออมสินเลือกตลาดศูนย์การค้ากำแพงเพชร เป็นตลาดนำร่อง 1 ใน 18 ตลาดทั่วประเทศ ในการพัฒนาเป็นตลาดต้นแบบ ตามโครงการ “Holistic Market” ยกระดับตลาดแบบองค์รวม
จากสถานการณ์การระบาด โรคโควิด-19 ส่งผลกระทบอย่างมากกับเศรษฐกิจทั้งในประเทศและทั่วโลก ทำให้กลุ่มผู้ประกอบการได้รับผลกระทบทุกระดับ ตั้งแต่ พ่อค้าแม่ค้า หาบเร่ แผงลอย ผู้ประกอบการรายย่อย Startup และ SME อาทิ การลดการดำเนินธุรกิจ การหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทาน และพฤติกรรมของผู้บริโภค ที่เปลี่ยนไป เป็นต้น โดยเฉพาะกลุ่มที่ได้รับผลกระทบรุนแรงและไม่สามารถรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ คือกลุ่ม พ่อค้าแม่ค้า หาบเร่ แผงลอย และผู้ประกอบการรายย่อยที่มีสายป่านทางการเงินสั้น เงินหมุนเวียน ในการประกอบอาชีพ และอาจจะไม่ได้มีเงินทุนหรือหาแหล่งเงินทุนเพื่อรับมือได้ทัน ทำให้ขาดสภาพคล่อง และถ้าไม่สามารถ ปรับตัวได้ การว่างงานของผู้ประกอบการรายย่อยจะเพิ่มขึ้น

ธนาคารออมสินได้เปลี่ยนบทบาทเป็นธนาคารเพื่อสังคม ช่วยขับเคลื่อนภารกิจต่างๆในการช่วย คนในสังคม ลดความเหลื่อมล้ำ พร้อมผลักดันฐานรากให้มีความเข็มแข็ง หลังจากผ่านพ้นภาวะเศรษฐกิจไทย กําลังจะฟื้นตัวจากการระบาดโรคโควิด-19 ทั้งพ่อค้า แม่ค้า ได้เริ่มมาประกอบอาชีพ และประชาชนเริ่มจับจ่ายชื้อของในตลาดสดมากขึ้น เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชน สร้างสภาพคล่องทางการเงิน และช่วยบรรเทาภาระหนี้ ทีเกิดขึ้น จึงเกิดโครงการ Holistic Market ยกระดับตลาดแบบองค์รวม เพื่อเข้ามาช่วยเหลือและยกระดับ กลุ่มผู้ประกอบการ พ่อค้าแม่ค้า ผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น คลินิก อบรมให้ความรู้ทางการเงิน อบรมอาชีพที่ 2 การเข้าถึงการขายแบบ Online และการสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบ

โครงการ Tese is Holistic Market insidue ยกระดับตลาดแบบองค์รวม เริ่มโครงการจากการคัดเลือกตลาด ที่มีศักยภาพนำร่อง 18 ตลาดทั่วประเทศ โดยกลุ่มเป้าหมายหลักคือ ผู้ประกอบการรายย่อย พ่อค้าแม่ค้า เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมของโครงการ แบ่งเป็น กิจกรรมหลัก เน้นในเรื่องของกิจกรรมแก้ไขหนี้และเสริมสภาพคล่อง ในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน และกิจกรรมสนับสนุนในการจัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ทางการเงิน เพิ่มทักษะอาชีพ และการขายในรูปแบบ Online เพื่อรองรับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป รวมถึงการพัฒนา ปรับปรุงพื้นที่ ของตลาดทั้งภายในและภายนอกร่วมกันกับผู้ประกอบการเจ้าของตลาด

โครงการนี้จะช่วยยกระดับและเพิ่มศักยภาพให้กับผู้ประกอบการพ่อค้าแม่ค้า ทั้งด้านพัฒนา คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ไม่มีหนี้ หนี้สินลดลง ลดการเข้าสู่แหล่งเงินนอกระบบ ช่วยเสริมสภาพคล่อง ในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบ สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ และช่วยส่งเสริมทักษะด้านการตลาด การขาย และ ความรู้ด้านการบริหารจัดการการเงิน ท้ายที่สุดแล้วเป้าหมายของโครงการฯ คาดหวังให้ผู้ประกอบการ พ่อค้าแม่ค้า ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจ ได้รับการพัฒนาแบบองค์รวม เพื่อเป็นแรงสำคัญการขับเคลื่อน เศษรฐกิจของประเทศได้อย่างยั่งยืน
เรียบเรียง : ธนพัฒน์ จันทรังษี
Graphic Design : ธนพัฒน์ จันทรังษี
ตรวจทาน : ชัยพันธ์ ศรีคชไกร


